Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

รู้จักโรคกาฬโรค (Plague)

Go down

รู้จักโรคกาฬโรค (Plague) Empty รู้จักโรคกาฬโรค (Plague)

ตั้งหัวข้อ  labplusone Fri Aug 07, 2009 4:04 pm

รู้จักโรคกาฬโรค (Plague)

กาฬโรค เป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ตามปกติเป็นโรคที่เกิดอยู่ในสัตว์ประเภทฟันแทะ (Rodent) ได้แก่ หนู กระรอก กระต่าย เชื้อติดต่อมาสู่คนโดยถูกตัวหมัดที่อาศัยกินเลือดสัตว์ดังกล่าวมากัดคน เชื้อเข้าสู่ทางผิวหนังบริเวณที่ถูกกัด ผ่านทางท่อน้ำเหลืองไปสู่ต่อมน้ำเหลือง เกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เรียกการป่วยลักษณะนี้ว่า กาฬโรคชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Bubonic plague) เชื้ออาจลุกลามต่อจากต่อมน้ำเหลืองเข้าสู่กระแสเลือด กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ เรียกการป่วยระยะนี้ว่า Sipticemic plague ผู้ป่วยบางรายจะมีปอดอักเสบ เรียกว่า กาฬโรคชนิดปอดอักเสบ Zpneumonic plague) ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้ทางการหายใจ โดยมีเชื้ออยู่ในน้ำมูกหรือเสมหะที่กระจายเป็นฝอยเมื่อไอหรือจาม

เชื้อที่เป็นสาเหตุ
เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Yersinia pestis ลักษณะของเชื้อเป็น bacillus ติดสี gram-negative ตรวจหาเชื้อได้จากต่อมน้ำเหลือง เสมหะ และน้ำไขสันหลัง นอกจากนี้ยังตรวจเลือดหาการติดเชื้อ โดยวิธี antigen-capture Elisa และ PHA

สัตว์นำโรคได้แก่ พวกสัตว์ประเภทฟันแทะที่อยู่ตามธรรมชาติโดยเฉพาะพวกหนู ซึ่งเป็นแหล่งเชื้อโรคที่สำคัญ สำหรับสัตว์อื่นที่อาจเป็นโรคนี้และติดต่อมาถึงคน ได้แก่ สัตว์พวกกระต่าย กระต่ายป่า และแมว เป็นต้น

รู้จักโรคกาฬโรค (Plague) Mouse11


การติดต่อโรค
• ติดต่อโดยถูกหมัดหนู (Xenopsylla cheopis) ที่มีเชื้อกัด หรือเชื้อเข้าทางผิวหนังที่ถลอกจากการเกา บริเวณที่ถูกหมัดถูกหนูกัด การติดต่อระหว่างคนกับคนอาจเกิดได้โดยหมัดคน (pulexirritans) กัด
• ทางการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วย Pneumonic plague หรือสัตว์เลี้ยง เช่น แมวที่มีเชื้อโรคนี้
ระยะฟักตัวของโรค
ระยะฟักตัวของกาฬโรคโดยทั่วไปอยุ่ระหว่าง 2-6 วัน ระยะฟักตัวสำหรับ primaryplague pneumonia อยู่ระหว่าง 1-6 วัน แต่ปกติมักจะสั้น


ระยะเวลาการติดต่อ
เชื้อที่ติดต่อคงอยู่ในตัวหมัดได้เป็นเดือน ขึ้นอยู่กับสภาพของความชื้นและอุณหภูมิ

รู้จักโรคกาฬโรค (Plague) Wb030010


การป้องกันและควบคุม
1.สำรวจหนูและหมัดหนู ควบคุมและกำจัดหนูในโรงเรือนและเรือสินค้า กำจัดหมัดหนูโดยใช้ยาฆ่าแมลง
2.ให้สุขศึกษาในประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ให้รู้วิธีป้องกันโรคและเข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็ว ถ้ามีอาการส่งสัยว่าป่วยเป็นกาฬโรค
3. มีมาตรการควบคุมระหว่างประเทศ
4. ฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยง (ขณะนี้วัคซีนไม่มีใช้ทั่วไป)

การรักษา
ผู้ป่วยกาฬโรคต้องรับการรักษาในห้องแยก (Isolation) การฆ่าเชื้อได้ผลดีโดย ใช้ยาปฏิชีวนะ Tetracycline ,Streptomycin,Chloramphenicol,kanamycin และ Sulfonamides ซึ่งควรให้ผู้ป่วย ได้รับยาปฏิชีวนะโดยเร็ว ที่สุดหลังการวินิจฉัยเบื้องต้น โดยไม่ควรรอผลการตรวจยืนยัน ทางห้องปฏิบัติการ ยากลุ่ม Penicillin มักไม่ได้ผลดี

นอกจากนี้ให้การรักษาตามอาการ (Symptomatic) และการรักษาประคับประคอง (Supportive) และการรักษาโรคแทรกซ้อนตามความจำเป็นบุคลากรผู้ทำการรักษาต้องระมัดระวังอย่างเคร่งครัดด้านการป้องกันติดเชื้อ (เช่น สวมถุงมือ สวมหน้ากาก) และการทำลายเชื้อจากเลือด น้ำเหลือง และหนองของผู้ป่วย
แนวทางการวินิจฉัยกาฬโรคในประเทศไทย หมายถึง ผู้ที่มีประวัติและอาการดังต่อไปนี้
1. ผู้มีอาการสงสัยว่าป่วยเป็นกาฬโรค (Suspected case)
1.1. เป็นผู้มีประวัติตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ภายใน 6 วัน ก่อนเกิดอาการ
ก. เคยเดินทางไปประเทศที่มีรายงานการระบาดของโรค
ข. เคยสัมผัสกับผู้ป่วยกาฬโรคหรือผู้สัมผัสโรค
ค. เคยสัมผัสกับผู้ซึ่งเดินทางจากประเทศที่มีรายงานการระบาดของกาฬโรค
1.2 มีอาการของกาฬโรคหรือตรวจพบดังนี้
1.2.1 อาการทั่วไป : ไข้สูงทันที (>39o C), ปวดศีรษะ, ปวดเมื่อยตามตัว
1.2.2 อาการเฉพาะ :
ก. กาฬโรคที่ปอด (Pneumonic plague) - ไอ, หายใจลำบาก, อาจมีเสมหะปนเลือด
ข. กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง(Bubonic plague)- ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต (บางรายอาจพบที่รักแร้ หรือคอ)
1.3 ตรวจย้อมเชื้อจากหนอง เสมหะ หรือ exudate พบเชื้อแบคทีเรียกรัมลบมีลักษณะ คล้ายเข็มกลัดซ่อนปลาย (Bipolar) อาจย้อมเชื้อโดยวิธี Giemsa หรือ Wayson พบแบคทีเรียลักษณะ ดังกล่าว
2. ผู้ป่วยกาฬโรค (Confirmed case) ได้แก่ ผู้สงสัยว่าป่วยเป็นกาฬโรคและมีผลการ ชันสูตรทางห้องปฏิบัติการยืนยันว่าเป็นกาฬโรค ดังนี้
2.1 มีผล Direct Fluorescent Antibody (DFA) เป็นบวก และผลการเพาะเชื้อ พบเชื้อกาฬโรค หรือ
2.2 มีผล Passive hemagglutination (PHA) เป็นบวก (ตรวจ 2 ครั้ง ห่างกัน2 สัปดาห์ และผล titer เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 4 เท่าขึ้นไป (four-fold rising)

วิธีปฏิบัติในการวินิจฉัยรักษาและรายงานผู้ป่วยหรือผู้สงสัยว่าเป็นกาฬโรค
1. เมื่อพบผู้ป่วยหรือผู้สงสัยให้แยกโรคทุกราย และให้การรักษาโดยทันที
2. การตรวจชันสูตรในสถานบริการโดย
2.1 เก็บเสมหะ หรือ exudate ทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยวิธี Gram stain และทำ Giemsa stain หรือ Wayson stain
2.2 เก็บตัวอย่างเพื่อเพาะเชื้อ (ในกรณีที่ไม่สามารถเพาะเชื้อได้ ให้ส่งต่อสถานบริการใกล้เคียง)
3. ในกรณีที่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของสถานพยาบาลเป็นบวก หรือผลเป็นลบ แต่ผู้ป่วยมีประวัติและอาการชัดเจน ให้ดำเนินการส่งตัวอย่างเพื่อตรวจยืนยันที่กองพยาธิวิทยาคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
3.1 เตรียม smear slide 2 แผ่น (fixed ด้วย methanol หรือ acetone) เพื่อส่งตรวจ DFA
3.2 เก็บตัวอย่างน้ำเหลืองของผู้ป่วย 1 มิลลิลิตร เพื่อตรวจ PHA เก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์
3.3 เก็บตัวอย่างเชื้อที่เพาะได้ ส่งตรวจยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
4. กรณีผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในข่าย Suspected case เช่น มีประวัติสงสัยแต่อาการไม่ชัดเจน สถานบริการอาจพิจารณาตรวจเพื่อการเฝ้าระวังโรค โดยแยกตามวิธีปฏิบัติข้อ 2
5. เพื่อป้องกันความสับสนและความตื่นตระหนกจนเกินควร เมื่อพบผู้ป่วยหรือผู้สงสัย ว่าป่วยเป็นกาฬโรค ให้แจ้งกระทรวงสาธารณสุข เพื่อตรวจสอบยืนยันและออกข่าว
[center][center]
labplusone
labplusone
Admin

จำนวนข้อความ : 15
Join date : 29/05/2009
ที่อยู่ : 3850/2 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กทม. 10110

https://labplusone.thai-forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ